...::: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 :::...

 

...::: เริ่มต้นพันธกิจด้านการพยาบาล ณ ดินแดนแห่งสยามประเทศ :::...
คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร


...::: เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟ :::...
ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1891

ในปี ค.ศ. 1887 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชดำริว่า ชาติตะวันตกกำลังขยายอาณาเขตแสวงหาเมืองขึ้น ทรงพระราชวิตกว่า จะกระทบกระเทือนถึงราชอาณาจักรไทยด้วย จึงทรงปฏิรูปแก้ไขรูปแบบการปกครอง รวมทั้งการเงิน การคลัง กฎหมาย ไฟฟ้า ไปรษณีย์โทรเลข รถไฟ การพยาบาล สาธารณสุข รวมถึงการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อีกมากมาย เพื่อให้รุดหน้าทัดเทียม ซึ่งในการนี้ต้องอาศัยชาวตะวันตกที่ชำนาญการในด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชนชาวตะวันตก โดยเฉพาะแถบตรอกโอเรียนเต็ล สุรวงศ์ บางรัก สีลม สาทร บ้านทวาย จึงทำให้เกิดความต้องการทางด้านสาธารณูปโภคที่ทันสมัย ตามมาตรฐานของชาวตะวันตกเพิ่มขึ้น

...::: พระสังฆราช ชอง หลุยส์ เวย์ :::...
...::: แมร์กังดีด :::...

ดังนั้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1895 ฯพณฯ พระสังฆราชชอง หลุยส์ เวย์ (Mgr. Louis Vey) ผู้แทนพระสันตะปาปาประจำราชอาณาจักรสยามในเวลานั้น จึงได้มีหนังสือถึงคุณแม่กังดีด (Mère Candide) เจ้าคณะภาคตะวันออกไกล ซึ่งประจำอยู่ที่ไซ่ง่อน ความตอนหนึ่งว่า...


"ที่กรุงเทพฯ ซึ่งพลเมืองนับถือศาสนาพุทธทั้งหมด จำเป็นต้องตั้งโรงพยาบาลสำหรับชาวยุโรปขึ้น
และบุคคลผู้มีอิทธิพลในเมืองนั้นได้เรียกร้องให้มีนักบวชหญิงมาปฏิบัติงาน
ทางมิสซังเสนอให้ที่ดินและจะเป็นผู้ออกค่าก่อสร้าง"


...::: คณะเซอร์กลุ่มแรก ๆ กับบรรดาเด็กกำพร้า ที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ :::...

หลังจากนั้น 3 ปี บรรดาเซอร์ทั้ง 7 ท่าน ที่ได้รับเลือกให้ปฏิบัติพันธกิจนี้ คือ :
1. เซอร์อิกญาส เดอ เยซู
2. เซอร์โดนาเซียน
3. เซอร์คามิล เดอ เยซู
4. เซอร์เซราฟิน เดอ มารี
5. เซอร์เอดมองค์
6. เซอร์เออแชน ดู ซาเครเกอ
7. เซอร์ชอง แบร์ฆมันส์

 

ทั้งหมดได้ออกเดินทางจากไซง่อน เมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1898 (เวลานั้นศูนย์กลางของคณะอยู่ที่ประเทศเวียดนาม) และเดินทางถึงเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1898 เพื่อมาปฏฺิบัติงานในสยาม ที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ริมคลองสาทร
ซึ่งได้เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1898


...::: อาคารในสมัยแรกเริ่มของโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ :::...

โดยในระยะแรกนั้น มี นายแพทย์ อา ปัวซ์ (Dr. A. Poix) เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลแห่งนี้
นับว่าได้นำการแพทย์แผนปัจจุบันสู่ประเทศสยามได้ ทำงานกันอย่างเสียสละโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ให้การรักษาพยาบาลโดยไม่เลือกชาติ ศาสนา นายแพทย์ปัวซ์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
ให้เป็นแพทย์ประจำราชสำนัก และภายหลังได้เป็นพระยาอัศวินอำนวยเวท

ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของคณะเซอร์ปอล เดอ ชาร์ตรในดินแดนสยามแห่งนี้